รหัสคิวอาร์
รหัสคิวอาร์ (Quick Response Code หรือ QR Code) หรือบาร์คัด 2 มิติ
(Two – dimensional Bar Code: 2D
Bar Code) ประกอบด้วยลวดลายสีดำเรียงตัวกันในลักษณะสีเหลี่ยมติดอยู่ตามป้ายโฆษณา
ตัวสินค้า หีบห่อ รหัสนี้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า ธุรกิจ เว็บไซต์
ที่อยู่แสดงที่ตั้งบน GPS โฆษณาบนยูทูป (WWW.youtube.com)
รหัสคิวอาร์
ระบบชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
ระบบชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency
ldentification : RFID) คือ
ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะไกล เพื่อตรวจสอบ
ติดตาม บันทึกข้อมูลที่อยู่บนป้าย ป้ายเหล่านี้สามารถนำไปติดไว้กับวัตถุต่างๆ
เพื่อให้ส่งสัญญาณวิทยุออกมา
Motion
Capture
Motion
Capture คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจจับความเคลื่อนไหว
นำมาใช้กับการสร้างภาพยนตร์ การ์ตูน หรือเกมสามมิติ
โดยใช้เซนเซอร์ติดตามร่างกายของนักแสดงในจุดที่ต้องการแสดงความเคลื่อนไหว
Motion Capture
Virtual Wall
Virtual Wall คือ ระบบแสดงภาพแบบสัมผัส มีลักษณะเป็นจอภาพขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยี Multi
Touch ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานซอฟต์แวร์
หรือดูรายละเอียดของงานที่ต้องการได้
Holography
Holography หมายถึง กระบวนการจัดเก็บและแสดงข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ในรูปแบบสามมิติ
สามารถนำไปใช้งานได้มากมาย
การประมวลผลแบบออโตโนมิค
(Autonomic
Computing)
การประมวลผลแบบออโตโนมิค
(Autonomic
Computing) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบมนุษย์คือ
สามารถกำหนดงาน ปรับสภาพให้เหมาะสมกับงาน
พัฒนาตนเองแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำงานได้ด้วยตนเอง
คลังข้อมูล
คลังข้อมูล (Data Warehouses) คือ การจัดเก็บข้อมูลในองค์การที่ได้รับมาจากหลายแหล่งข้อมูล
ทั้งข้อมูลเก่าและข้อมูลปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก
ทั้งที่มีมาตรฐานเดียวกันและคนละมาตรฐาน ครอบคลุมในทุกๆ หน่วยงานขององค์การ
เหมืองข้อมูล
เหมืองข้อมูล (Data Mining) คือ
ซอฟแวร์ที่ใช้เทคนิคขั้นสูงในการช่วยค้นหาข้อมูลจากคลังข้อมูล ตัดสินใจเลือกข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการ ใช้สำหรับการจัดการข้อมูลจำนวนมาก
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
(Distributed
Database System: DDB) หมายถึง
การกระจายการเก็บข้อมูลไว้หลายๆ ที่
แทนที่จะเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางเพียงแห่งเดียว เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน
และลดความเสี่ยงในการเสียหายของข้อมูล
การประมวลผลแบบคู่ขนานขนาดใหญ่
การประมวลผลแบบคู่ขนานขนาดใหญ่
(Massively
Parallel Processing)
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์จะประมวลผลพร้อมกันในลักษณะคู่ขนานทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
โดยใช้คอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกลาง
Software
as a Service
Software as a Service : SaaS
เป็นการใช้งาน Cloud Computing รูปแบบหนึ่งที่มีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
การใช้บริการนี้ผู้ใช้จะเรียกใช้บริการซอฟต์แวร์ผ่านเว็บโดยไม่ต้องสนใจว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ติดตั้งอยู่ที่ใดในระบบเครือข่าย
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer
: EFT)
เป็นระบบการโอนเงินจากธนาคารแห่งหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่ง
หรือจากลูกค้าคนหนึ่งไปยังลูกค้าอีกคนหนึ่ง โดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร
การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
data interchange : EDI) คือ
เทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางธุรกิจซึ่งเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ระหว่างธุรกิจหนึ่งไปยังอีกธุรกิจหนึ่ง ผ่านทางระบบเครือข่ายเคเบิล หรือดาวเทียม แทนการส่งออก
ความเป็นจริงเสมือน
ความเป็นจริงเสมือน
(Virtual
Reality : VR)
คือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงออกมาเป็นภาพที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตา
ในปัจจุบันสามารถแสดงด้วยภาพ 3 มิติ เสียง และตอบสนองต่อการสัมผัส
อาจใช้ร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ
ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
(Global
Positioning Systems : GPS) คือ
ระบบที่สามารถระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์บนพื้นโลกของคน สัตว์
หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมาย โดยนำสัญญาณที่ได้จากดาวเทียมไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งบนแผนที่
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(Geographic
Information System : GIS)
เป็นระบบที่รวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แผนที่ และข้อมูลประกอบ เพื่อนำมาวิเคราะห์
ประมวลผล แสดงผล แนะนำ การตัดสินใจ เกี่ยวกับ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
เส้นทางคมนาคม จำนวนประชากร การตั้งบ้านเรือน อาจใช้ร่วมกับ GPS
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์
การเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(E-learning) ปัจจุบันระบบสารสนเทศมีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้นโดยเฉพาะได้มีการนำระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยเหลือในการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย
ในรูปแบบของการเรียนทางไกล
จังหวัดอัจฉริยะ
จังหวัดอัจฉริยะ (Smart City) คือโครงการของประเทศไทยที่มักที่จะใช้จังหวัดนครนายกเป็นเป็นจังหวัดนำร่องเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐ
ตั้งแต่ระดับ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ในด้านต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น