วิธีการพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ หมายถึง
การสร้างระบบใหม่ หรือปรับเลี่ยนระบบงานเดิมให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายรูปแบบได้แก่
1. วิธีพื้นฐานในการพัฒนาระบบ สามารถจำแนกได้ 4 วิธี คือ
1.1 วิธีเฉพาะเจาะจง ( Ad Hoc
Approach )
1.2 วิธีสร้างฐานข้อมูล ( Database Approach )
1.3 วิธีพัฒนาจากล่างขึ้นบน ( Bottom-up Approach )
1.4 วิธีพัฒนาจากบนลงล่าง (
Top-down Approach )
2. วงจรการพัฒนาระบบหรือ เอสดีแอลซี ( System Development Life
Cycle : SDLC ) เป็นที่นิยมใช้ในองค์กรส่วนใหญ่
แบ่งขั้นตอนการพัฒนาระบบออกเป็นขั้นตอนต่างๆ เหมาะสำหรับระบบงานที่มีขนาดใหญ่
สามารถกำหนดความต้องการของระบบอย่างชัดเจน
ข้อเสียของวิธีนี้คือมีต้องใช้บุคลากรเป็นจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายสูง
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง ประกอบไปด้วยระยะต่างๆ ดังนี้
2.1 การวางแผนโครงการ (
Project Planning )
2.2 การวิเคราะห์ ( System
Analysis )
2.3 การออกแบบ ( System
Design )
2.4 การนำไปใช้ (
Implementation )
3. โมเดลน้ำตก ( Waterfall Model ) การพัฒนาในรูปแบบของโมเดลน้ำตกจะมีลักษณะคล้ายกับวงจรการพัฒนาระบบ
โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย 6 ขั้นตอน มีดังต่อไปนี้
3.1 การกำหนดและเลือกโครงการ (
System Identification and Selection )
3.2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (
System Initiation and Planning )
3.3 การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
3.4 การออกแบบระบบ ( System
Design )
3.5 การนำไปใช้ ( System
Implementation )
4. Incremental Model เป็นโมเดลที่พัฒนาขึ้นมาจากโมเดลน้ำตก
โดยแบ่งงานแต่ละส่วนออกเป็นงานย่อยๆ และพัฒนาทีละส่วน ตามขั้นตอนของโมเดลน้ำตก
เพื่อลดความผิดพลาดของการทำงาน ให้มีการทดสอบทุกๆ โมดูล
และทุกขั้นตอนการทำงานมากขึ้น
ข้อดีของวิธีนี้คือเจ้าของระบบสามารถเห็นความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบได้ชัดเจน
และสามารถแก้ไขทีละส่วนได้
5. Built and Fix Model ในปัจจุบันจึงใช้กับการพัฒนาระบบขนาดเล็กที่ไม่ซับซ้อน
และไม่ส่งผลกระทบกับงานอื่นๆ
6. โมเดลขดรวด ( Spiral Model ) เป็นการพัฒนาระบบแบบวนรอบ
เพื่อให้มีความรวดเร็วโดยเริ่มจากแกนกลางเมื่อพัฒนาสำเร็จ จะมีการพัฒนารุ่น ( Version ) ต่อๆ ไป เพื่อให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
7. วิธีต้นแบบ ( Prototype ) การพัฒนาระบบด้วยวิธีต้นแบบมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการพัฒนาด้วยวิธีเอสดีแอลซี
ระบบจะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้การจัดทำเอกสารประกอบการใช้ระบบถูกละเลย
8. วิธีการพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว ( Rapid Application Development : RAD ) ข้อเสียของวิธีการนี้คือระบบอาจไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
และอาจละเลยต่อเอกสารประกอบระบบได้ เนื่องจากการใช้เวลาอันสั้นในการพัฒนา
9. Join-Application Design : JAD คือ
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ร่วมกันระหว่างบุคคลในองค์การและผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี
มีจุดมุ่งหมายคือการใช้เวลาที่สั้น และทำให้งานมีความสมบูรณ์มากที่สุด
อาจมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และพัฒนาระบบร่วมกัน
10. วิศวกรมซอฟต์แวร์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหรือเคส ( Computer-aided Software Engineering : CASE ) การออกแบบวิธีนี้จะช่วยให้การสร้างต้นแบบของระบบง่ายขึ้น
รวดเร็วขึ้น แต่การวิเคราะห์ต่างๆ ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้วิเคราะห์เอง
และซอฟต์แวร์ยังมีราคาสูง
11. การซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป ( Application Packages ) ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นโปรแกรมที่ทดสอบมาแล้วว่าสามารถใช้งานได้อาจใช้วิธีการเช่า
เช่าซื้อ หรือซื้อ
12. Ration Unified Process (RUP)
12.1 Inception กำหนดขอบเขตของงาน
12.2 Elaboration สร้างข้อกำหนดพื้นฐานของงาน
12.3 Construction การพัฒนาระบบ
12.4 Transition นำไปใช้ จัดทำคู่มือ
13. การพัฒนาระบบสารสนเทศโดยผู้ใช้ ( End-user
Computing ) การพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับระบบที่มีขนาดเล็กเฉพาะงาน
ต้องการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของผู้อื่น
สามารถดูแลรักษาได้ด้วยตนเอง
การวางแผนโครงการ ( Project Planning )
1.
กำหนดปัญหา
1.1
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
1.2
การศึกษาปัญหาภายในองค์การ
2.
ศึกษาความเป็นไปได้
2.1
ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค
2.2
ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติงาน
2.3
ความเป็นไปได้ด้านระเบียบกฎเกณฑ์
2.4
ความเป็นไปได้ด้านระยะเวลา
2.5
ความเป็นไปได้ด้านการเงิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น