หน้าที่หลักของธุรกิจ
กระบวนการทางธุรกิจ
ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ส่วนนำเข้า ส่วนกระบวนการ แบส่วนผลลัพธ์
ซึ่งแต่ละส่วนจะมีงานที่เกี่ยวข้องที่ถูกกำหนดด้วยภาระงาน
มีการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้
สามารถจัดแบ่งได้ดังภาพ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ระบบวางแผนกำลังคน
(Manpower Planning)
2. ระบบวิเคราะห์งาน
(Job
Analysis)
3. ระบบสรรหาและคัดเลือก
(Recruitment
and Selection)
4. ระบบบุคลากร
ครอบคลุมถึง การบรรจุเข้าทำงาน (Job Placement)
5. ระบบค่าจ้างและเงินเดือน
6. ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
7. ระบบพัฒนาและฝึกอบรม
8.
ระบบสวัสดิการและผลประโยชน์
ระบบสารสนเทศด้านการผลิต
- ระบบออกแบบการผลิต
- ระบบวางแผนการผลิต
- ระบบจัดการโลจิสติกส์
- ระบบดำเนินงานและควบคุมการผลิต
ระบบสารสนเทศทางการตลาด
การตลาด คือ กระบวนการเพื่อการตอบสนองความจ้องการของลูกค้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อสร้างกำไรให้กับธุรกิจ
ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า การแบ่งส่วนตลาด
การกำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งทางการตลาด การตั้งราคา
การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด การกำหนดกิจกรรมทางการตลาด
ระบบสารสนเทศทางการเงิน
การเงิน ถือเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานด้านอื่นๆ
ได้แก่ การผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
มีหน้าที่จัดการเงินสดเข้า และออกธุรกิจ เริ่มตั้งแต่ การจัดหาเงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ
การจัดการสภาพคล่องทางการเงิน
การตัดสินใจลงทุนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่กิจการ
ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
การบัญชี
คืองานด้านการบริหารทรัพยากรข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ ได้แก่
การจดบันทึกเหตุการณ์ทางการเงิน การจำแนกข้อมูลทางการเงินออกเป็นหมวดหมู่
การสรุปผลการรับ-การจ่ายออกมาเป็นรายงานทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
การแปลความหมายค่าต่างๆ
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
การบริหาร
เป็นอีกปัจจัยที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจั้งจุดมุ่งหมาย จัดแบ่งหน้าที่
และประสานงานเพื่อให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย การแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันสูงมาก
ผู้บริหารจึงมีความจำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลเพื่อปรับตัวให้ทันต่อสภาพแวดล้อม
- การปรับเปลี่ยนงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ (Automation)
- การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures)
- การออกแบบระบบงานใหม่ (Business Process Reengineering : BPR)
- การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts)
- การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในกลยุทธ์ขององค์การ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางธุรกิจ จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการใช้งาน
นอกจากซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานเฉพาะทางธุรกิจแล้ว
ปัจจุบันมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อใช้ประโยชน์ในงานทั่วไปของธุรกิจมากมาย
ผู้ใช้สามารถหาซื้อได้จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทั่วไป หรือจ้างเขียนขึ้น
สามารถแบ่งตามจุดมุ่งหมายของการใช้งานออกเป็น 5 ประเภท คือ
- ภาษาในการเขียนโปรแกรม (Programming Language)
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางธุรกิจ (Business Tool)
- ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Project)
- ซอฟต์แวร์ช่วยการทำงานส่วนบุคคลและการศึกษา (Home, Personal and Education Activities)
- ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communication)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น